ข้อแนะนำก่อนเข้าห้องเรียน


ข้อเสนอแนะก่อนเข้าเรียนวิชาโปรแกรมประยุกต์ 2

วันครู 2559


อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ

image image

ข่าวการศึกษา


ครูเฮได้เวลาคืนสู่ห้องเรียน 19 วัน (เพิ่มขึ้น 25%) ภายใน 1 ปี เชื่อปี 59 คืนได้เวลาถึง 50%ครูเฮหน่วยงานขานรับ นโยบาย “คืนครูสู่ห้องเรียน” ได้เวลาคืนสู่ห้องเรียน 19 วันภายใน 1 ปี หนุนกระทรวงดันต่อเนื่อง “ลดภาระเอกสาร-ปรับเกณฑ์ประเมินโรงเรียน” เชื่อปี 59 คืนเวลาได้ถึง 50%

เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดงานแถลงข่าว“เปิดผลสำรวจตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี” โดยดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิสสค. อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ผลสำรวจกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ผ่านกลุ่มตัวอย่าง“ครูสอนดี”ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากทุกท้องถิ่นทุกสังกัด ทั่วประเทศ โดยมีอายุเฉลี่ยและวิทยะฐานะสูงกว่าครูทั่วไป จำนวน 319 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเดิมจากการเก็บข้อมูลในปี 2557 เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการเปรียบเทียบสถานการณ์ “กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู” เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค.2558- 5 ม.ค.2559 พบว่า ในปี 2558 มีวันเปิดเรียน 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอน 65 วัน คิดเป็น 32.5% ซึ่งลดลงจากปี 2557 ที่ครูต้องใช้เวลาถึง 84 วัน เท่ากับว่าครูได้เวลาคืนสู่ห้องเรียนมากขึ้นถึง 19 วัน หรือคิดเป็นอัตราส่วนถึง 25 % เทียบกับปี 2557

ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า ปัจจัยที่สามารถคืนเวลาให้ครูได้ถึง 25% เทียบกับปี 2558 เกิดจากการดำเนินนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น การลดจำนวนวิชาที่ใช้สอบประเมินผู้เรียน การขอความร่วมมือสพฐ.ในการลดกิจกรรมประกวดแข่งขันและการอบรมครูลง นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่มีการดำเนินการไปแล้วแต่ยังรอให้เห็นผลกระทบต่อ เนื่อง ได้แก่ การปรับระบบการประเมินวิทยฐานะของครูและผู้บริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ในการ พัฒนาผู้เรียนโดยไม่ผูกกับการแข่งขัน การได้รางวัล หรือการทำเอกสารวิชาการเป็นหลัก การปรับระบบการประเมินของสมศ. ตลอดจนการให้สพฐ.ลดการประเมินโรงเรียนในโครงการต่างๆที่ซ้ำซ้อนลง ซึ่งคาดว่าเมื่อมีการติดตามผลอีกครั้งในปี 2559นี้จะยิ่งเห็นผลชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจคืนเวลาการสอนให้ครูเพิ่มขึ้นถึง 50% จึงเชื่อว่าทางกระทรวงจะผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องตามข้อเสนอแนะจาก เพื่อนครู ทั้งนี้เวลาที่ได้คืนมานี้ควรมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เรื่องการเตรียมการสอน และการพัฒนาขีดความสามารถของครูผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นระบบโค้ชชิ่ง เป็นต้น

นายอาคม สมพามา ครูสอนดี จ.ราชบุรี กล่าวว่า ตนเห็นสอดคล้องกันว่าในปีที่ผ่านมากิจกรรมการประเมินโรงเรียนซึ่งไม่ลดลงจาก ปี 2557 เนื่องจากการประเมินดังกล่าวถือเป็นรางวัลระดับชาติที่ครูและผู้บริหารสถาน ศึกษาสามารถนำไปใช้ยื่นประกอบวิทยฐานะได้ ซึ่งยังสร้างภาระงานให้กับครู อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อกระทรวงคืนครูสู่ห้องเรียนและได้ปลดล็อคให้ก.ค.ศ. ยกเลิกการใช้การรับรองรางวัลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินวิทยฐานะ แล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมาโดยเปลี่ยนเป็นเน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้ เรียนแทนก็เชื่อว่าจะยิ่งเกิดผลดีในปีการศึกษานี้

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะกรรมการ สสค. กล่าวว่า นโยบายคืนครูสู่ห้องเรียนที่มาจากการรับฟังเสียงสะท้อนจากครูผู้ปฏิบัติงาน ในพื้นที่โดยตรง ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดโดยสามารถคืนเวลาให้ครูกลับคืนสู่ห้องเรียนได้ ถึง 19 วัน ทั้งนี้รัฐบาลอาจต้องจริงจังกับการยกเลิกการประเมินโดยวัฒนธรรมเอกสารมาเน้น ที่ผลของผู้เรียน นอกจากนี้การที่ครูสะท้อนถึงกิจกรรมอื่นๆที่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะดึงครูออกไปแข่งขันและเกิดประโยชน์กับผู้เรียนเฉพาะกลุ่มนั้น หากเป็นการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนนอกห้องเรียนซึ่งจะ สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ก็จะเกิดผลกับเด็กทุกกลุ่ม รวมถึงการฝึกอบรมที่ตรงกับความสนใจของครูและและนำไปใช้ได้จริง ซึ่งการแก้ปัญหาโดยรับฟังความเห็นจากผู้ปฏิบัติงานจริงเชื่อว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าคะแนนคุณภาพและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทยจะขยับขึ้น

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า จากผลสำรวจการใช้เวลาของครู ในกลุ่มประเทศOECD 50 ประเทศพบว่า เวลาที่ใช้ในการสอนของครูในแต่ละประเทศมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 694 ชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็น 182 วัน โดยปัจจัยกำหนดเวลาที่ใช้ในการสอนที่สำคัญคือโครงสร้างหลักสูตรในแต่ละ ประเทศ ซึ่งพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วครูมีเวลาสอนจริงเฉลี่ย 50% ใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรง เท่ากับ 6.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย คิดเป็น 34% ของเวลาสอนต่อสัปดาห์ของครู อย่างไรก็ตามข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ การใช้เวลาของครูที่มีประสิทธิภาพการสอนที่ดี ครูจะใช้เวลาไปกับการเตรียมการสอนถึง 40% ของเวลาที่สอนจริง รวมถึงการใช้เวลาในการทำงานร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการส อน และเวลาในการพัฒนาตนเองของครู ดังนั้นจึงควรสนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ส่งผลต่อการสอนมากขึ้น และลดภาระงานที่เป็นกิจกรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กลง
ข่าวจาก….http://www.kroobannok.com

 

ข่าวการศึกษา


symbol1มื่อไม่นานมานี้ “ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ” ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการการบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับ เคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชนภายใต้การสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุข ภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. จัดประชุมแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตำบลบ้านขาว ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดบ้านขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคูวา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านขาว ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา

“ศ.ดร.สมพงษ์” กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตำบลบ้านขาว อาจเป็นโจทย์เล็กที่ท้าทายของตำบลบ้านขาว แต่เป็นโจทย์สำคัญของประเทศ เพราะเรื่องการทำหลักสูตรท้องถิ่นให้เข้าไปสู่ระบบโรงเรียนได้ ถ้าดำเนินการจนเกิดผลสำเร็จก็จะเป็นต้นแบบนำสู่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ในอนาคต

เนื่องจากแนวโน้มการปฏิรูปการศึกษาหลังจากนี้ จะเน้นการวางรากฐานเรื่องการสร้างคนดี ไม่เน้นคนเก่ง อีกทั้งทิศทางการศึกษาทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องจิตสำนึก จิตวิญญาณ แต่การศึกษาในประเทศไทยกลับสวนทางให้ความสำคัญกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ดังนั้น หากต้องการให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม ศีลธรรม ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้และเข้าไปสัมผัส เจาะลึกเรื่องศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ

“ผมจะเดินหน้าทำเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นอย่างจริงจังในระดับนโยบายส่วน กลาง ส่วนระดับท้องถิ่นได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตร 60:40 ประกอบด้วย 1.หน่วยงานเรียนรู้ (Unit) ตามที่ออกแบบ 2.เรียนครึ่งวัน ทำกิจกรรมครึ่งวัน โดยเนื้อหาหลักสูตร 40 เกิดจากบริบทของท้องถิ่น รากเหง้า ประวัติศาสตร์ ซึ่งเด็กและเยาวชนในพื้นที่พัฒนาให้เป็นหลักสูตรเชิงบูรณาการในโรงเรียน ให้เด็กได้ออกจากระบบการศึกษาในรูปแบบเดิมที่เป็นลักษณะเรียนเพื่อไปแข่งขัน กันสอบ แต่เด็กไม่มีราก ประวัติศาสตร์ ชุมชน ไม่คิดถึงบ้านไม่อยากกลับมาหาพ่อแม่ ดังนั้น ต้องทำให้เด็กกระหายการเรียนรู้ กระโจนเข้าหาข้อมูล ศึกษาค้นคว้า ตั้งโจทย์ได้ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21”

“เรากำลังทำสงครามกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ลูกหลานเราจะรอดกี่คน ดังนั้น ต้องนำหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการเข้าไปในโรงเรียนให้ได้พาเด็กออกสู่ชุมชน ครูจะไม่สอนหนังสือในห้อง แต่จะเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้นำการศึกษาก็ต้องฝังตัวอยู่ในชุมชน ทำให้โรงเรียนในชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งหลังจากที่ทดลองมา 3-4 ปี พบว่านี่คือโจทย์ของประเทศแต่จะทำอย่างไรกับระบบที่เป็นโครงสร้างเดิม ๆ เต็มไปด้วยตัวเลขข้อมูลและไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด ของแท้การศึกษามาแล้วแต่เราจะจัดการกับของปลอมทางการศึกษาอย่างไร และประเด็นสำคัญคือการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ช่วยกันพลิกโฉมการศึกษาไทย”

ขณะนี้ เด็กรอผู้ใหญ่จัดการทางความคิด เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องที่ท้าทาย ถ้ามองเชิงนโยบายสำคัญ เรากำลังมองการเคลื่อนตัว แต่มาเจออุปสรรค แต่เชื่อว่าขณะนี้สิ่งที่พยายามทำมายาวนานจะประสบความสำเร็จ เพราะข้างบนกำลังเปลี่ยนวิธีการคิด จะได้เห็นการลงมือปฏิบัติเสียที เราจะไม่โลกสวยในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อลูกหลานต่อไป

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 กันยายน 2558 

 

123


xxxxxx

,mk


mkml

test


อบรม Social Media Generation 3
symbol44

test


testhumman2

symbol ต้องใช้


symbol44 symbol31 symbol30 symbol29 symbol26 symbol25 symbol24 symbol23 symbol21 symbol20 symbol19 symbol18 symbol16 symbol15 symbol14 symbol13 symbol10 symbol11 symbol9 symbol8 symbol7 symbol5 symbol6 symbol4 symbol4 symbol3 symbol2 symbol1 symbol1

WP model


11898796_412509258956965_1980158556336284355_n
Wp model

WP model (W = Work together with Buddhist moral code) ทำงานร่วมกันโดยใช้หลักพุทธธรรม (P = Prepare for the first with The Deming Cycle)  เตรียมพร้อมสู่ความเป็นเลิศโดยใช้วงจรเดมมิ่ง หรือวงจรคุณภาพ PDCA คือวิธีการทำงานที่เป็นขั้นตอนในการที่ทำให้งานเสร็จอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือวางใจได้ โดยการใช้วงจร PDCA เป็นเครื่องมือการบริหารงานอย่างต่อเนื่องในการติดตาม ปรับปรุงพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมาย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อไปสู่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศโดยมองปัญหาที่เผชิญความท้าทายและแสวงหาโอกาสในการพัฒนาองค์กรภายใต้กรอบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

กิจกรรม สสวท. – สื่อดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอที ดาวน์โหลดฟรีที่ สสวท.


กิจกรรม สสวท. – สื่อดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอที ดาวน์โหลดฟรีที่ สสวท..