Category Archives: ข่าวประกาศ

ข่าวการศึกษา


ครูเฮได้เวลาคืนสู่ห้องเรียน 19 วัน (เพิ่มขึ้น 25%) ภายใน 1 ปี เชื่อปี 59 คืนได้เวลาถึง 50%ครูเฮหน่วยงานขานรับ นโยบาย “คืนครูสู่ห้องเรียน” ได้เวลาคืนสู่ห้องเรียน 19 วันภายใน 1 ปี หนุนกระทรวงดันต่อเนื่อง “ลดภาระเอกสาร-ปรับเกณฑ์ประเมินโรงเรียน” เชื่อปี 59 คืนเวลาได้ถึง 50%

เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดงานแถลงข่าว“เปิดผลสำรวจตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี” โดยดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิสสค. อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ผลสำรวจกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ผ่านกลุ่มตัวอย่าง“ครูสอนดี”ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากทุกท้องถิ่นทุกสังกัด ทั่วประเทศ โดยมีอายุเฉลี่ยและวิทยะฐานะสูงกว่าครูทั่วไป จำนวน 319 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเดิมจากการเก็บข้อมูลในปี 2557 เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการเปรียบเทียบสถานการณ์ “กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู” เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค.2558- 5 ม.ค.2559 พบว่า ในปี 2558 มีวันเปิดเรียน 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอน 65 วัน คิดเป็น 32.5% ซึ่งลดลงจากปี 2557 ที่ครูต้องใช้เวลาถึง 84 วัน เท่ากับว่าครูได้เวลาคืนสู่ห้องเรียนมากขึ้นถึง 19 วัน หรือคิดเป็นอัตราส่วนถึง 25 % เทียบกับปี 2557

ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า ปัจจัยที่สามารถคืนเวลาให้ครูได้ถึง 25% เทียบกับปี 2558 เกิดจากการดำเนินนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น การลดจำนวนวิชาที่ใช้สอบประเมินผู้เรียน การขอความร่วมมือสพฐ.ในการลดกิจกรรมประกวดแข่งขันและการอบรมครูลง นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่มีการดำเนินการไปแล้วแต่ยังรอให้เห็นผลกระทบต่อ เนื่อง ได้แก่ การปรับระบบการประเมินวิทยฐานะของครูและผู้บริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ในการ พัฒนาผู้เรียนโดยไม่ผูกกับการแข่งขัน การได้รางวัล หรือการทำเอกสารวิชาการเป็นหลัก การปรับระบบการประเมินของสมศ. ตลอดจนการให้สพฐ.ลดการประเมินโรงเรียนในโครงการต่างๆที่ซ้ำซ้อนลง ซึ่งคาดว่าเมื่อมีการติดตามผลอีกครั้งในปี 2559นี้จะยิ่งเห็นผลชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจคืนเวลาการสอนให้ครูเพิ่มขึ้นถึง 50% จึงเชื่อว่าทางกระทรวงจะผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องตามข้อเสนอแนะจาก เพื่อนครู ทั้งนี้เวลาที่ได้คืนมานี้ควรมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เรื่องการเตรียมการสอน และการพัฒนาขีดความสามารถของครูผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นระบบโค้ชชิ่ง เป็นต้น

นายอาคม สมพามา ครูสอนดี จ.ราชบุรี กล่าวว่า ตนเห็นสอดคล้องกันว่าในปีที่ผ่านมากิจกรรมการประเมินโรงเรียนซึ่งไม่ลดลงจาก ปี 2557 เนื่องจากการประเมินดังกล่าวถือเป็นรางวัลระดับชาติที่ครูและผู้บริหารสถาน ศึกษาสามารถนำไปใช้ยื่นประกอบวิทยฐานะได้ ซึ่งยังสร้างภาระงานให้กับครู อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อกระทรวงคืนครูสู่ห้องเรียนและได้ปลดล็อคให้ก.ค.ศ. ยกเลิกการใช้การรับรองรางวัลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินวิทยฐานะ แล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมาโดยเปลี่ยนเป็นเน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้ เรียนแทนก็เชื่อว่าจะยิ่งเกิดผลดีในปีการศึกษานี้

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะกรรมการ สสค. กล่าวว่า นโยบายคืนครูสู่ห้องเรียนที่มาจากการรับฟังเสียงสะท้อนจากครูผู้ปฏิบัติงาน ในพื้นที่โดยตรง ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดโดยสามารถคืนเวลาให้ครูกลับคืนสู่ห้องเรียนได้ ถึง 19 วัน ทั้งนี้รัฐบาลอาจต้องจริงจังกับการยกเลิกการประเมินโดยวัฒนธรรมเอกสารมาเน้น ที่ผลของผู้เรียน นอกจากนี้การที่ครูสะท้อนถึงกิจกรรมอื่นๆที่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะดึงครูออกไปแข่งขันและเกิดประโยชน์กับผู้เรียนเฉพาะกลุ่มนั้น หากเป็นการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนนอกห้องเรียนซึ่งจะ สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ก็จะเกิดผลกับเด็กทุกกลุ่ม รวมถึงการฝึกอบรมที่ตรงกับความสนใจของครูและและนำไปใช้ได้จริง ซึ่งการแก้ปัญหาโดยรับฟังความเห็นจากผู้ปฏิบัติงานจริงเชื่อว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าคะแนนคุณภาพและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทยจะขยับขึ้น

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า จากผลสำรวจการใช้เวลาของครู ในกลุ่มประเทศOECD 50 ประเทศพบว่า เวลาที่ใช้ในการสอนของครูในแต่ละประเทศมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 694 ชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็น 182 วัน โดยปัจจัยกำหนดเวลาที่ใช้ในการสอนที่สำคัญคือโครงสร้างหลักสูตรในแต่ละ ประเทศ ซึ่งพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วครูมีเวลาสอนจริงเฉลี่ย 50% ใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรง เท่ากับ 6.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย คิดเป็น 34% ของเวลาสอนต่อสัปดาห์ของครู อย่างไรก็ตามข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ การใช้เวลาของครูที่มีประสิทธิภาพการสอนที่ดี ครูจะใช้เวลาไปกับการเตรียมการสอนถึง 40% ของเวลาที่สอนจริง รวมถึงการใช้เวลาในการทำงานร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการส อน และเวลาในการพัฒนาตนเองของครู ดังนั้นจึงควรสนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ส่งผลต่อการสอนมากขึ้น และลดภาระงานที่เป็นกิจกรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กลง
ข่าวจาก….http://www.kroobannok.com

 

ข่าวการศึกษา


symbol1มื่อไม่นานมานี้ “ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ” ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการการบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับ เคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชนภายใต้การสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุข ภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. จัดประชุมแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตำบลบ้านขาว ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดบ้านขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคูวา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านขาว ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา

“ศ.ดร.สมพงษ์” กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตำบลบ้านขาว อาจเป็นโจทย์เล็กที่ท้าทายของตำบลบ้านขาว แต่เป็นโจทย์สำคัญของประเทศ เพราะเรื่องการทำหลักสูตรท้องถิ่นให้เข้าไปสู่ระบบโรงเรียนได้ ถ้าดำเนินการจนเกิดผลสำเร็จก็จะเป็นต้นแบบนำสู่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ในอนาคต

เนื่องจากแนวโน้มการปฏิรูปการศึกษาหลังจากนี้ จะเน้นการวางรากฐานเรื่องการสร้างคนดี ไม่เน้นคนเก่ง อีกทั้งทิศทางการศึกษาทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องจิตสำนึก จิตวิญญาณ แต่การศึกษาในประเทศไทยกลับสวนทางให้ความสำคัญกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ดังนั้น หากต้องการให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม ศีลธรรม ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้และเข้าไปสัมผัส เจาะลึกเรื่องศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ

“ผมจะเดินหน้าทำเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นอย่างจริงจังในระดับนโยบายส่วน กลาง ส่วนระดับท้องถิ่นได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตร 60:40 ประกอบด้วย 1.หน่วยงานเรียนรู้ (Unit) ตามที่ออกแบบ 2.เรียนครึ่งวัน ทำกิจกรรมครึ่งวัน โดยเนื้อหาหลักสูตร 40 เกิดจากบริบทของท้องถิ่น รากเหง้า ประวัติศาสตร์ ซึ่งเด็กและเยาวชนในพื้นที่พัฒนาให้เป็นหลักสูตรเชิงบูรณาการในโรงเรียน ให้เด็กได้ออกจากระบบการศึกษาในรูปแบบเดิมที่เป็นลักษณะเรียนเพื่อไปแข่งขัน กันสอบ แต่เด็กไม่มีราก ประวัติศาสตร์ ชุมชน ไม่คิดถึงบ้านไม่อยากกลับมาหาพ่อแม่ ดังนั้น ต้องทำให้เด็กกระหายการเรียนรู้ กระโจนเข้าหาข้อมูล ศึกษาค้นคว้า ตั้งโจทย์ได้ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21”

“เรากำลังทำสงครามกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ลูกหลานเราจะรอดกี่คน ดังนั้น ต้องนำหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการเข้าไปในโรงเรียนให้ได้พาเด็กออกสู่ชุมชน ครูจะไม่สอนหนังสือในห้อง แต่จะเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้นำการศึกษาก็ต้องฝังตัวอยู่ในชุมชน ทำให้โรงเรียนในชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งหลังจากที่ทดลองมา 3-4 ปี พบว่านี่คือโจทย์ของประเทศแต่จะทำอย่างไรกับระบบที่เป็นโครงสร้างเดิม ๆ เต็มไปด้วยตัวเลขข้อมูลและไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด ของแท้การศึกษามาแล้วแต่เราจะจัดการกับของปลอมทางการศึกษาอย่างไร และประเด็นสำคัญคือการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ช่วยกันพลิกโฉมการศึกษาไทย”

ขณะนี้ เด็กรอผู้ใหญ่จัดการทางความคิด เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องที่ท้าทาย ถ้ามองเชิงนโยบายสำคัญ เรากำลังมองการเคลื่อนตัว แต่มาเจออุปสรรค แต่เชื่อว่าขณะนี้สิ่งที่พยายามทำมายาวนานจะประสบความสำเร็จ เพราะข้างบนกำลังเปลี่ยนวิธีการคิด จะได้เห็นการลงมือปฏิบัติเสียที เราจะไม่โลกสวยในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อลูกหลานต่อไป

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 กันยายน 2558 

 

กิจกรรม สสวท. – สื่อดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอที ดาวน์โหลดฟรีที่ สสวท.


กิจกรรม สสวท. – สื่อดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอที ดาวน์โหลดฟรีที่ สสวท..

ประกาศข่าว


Host-a-Blog-Contest-300x300-300x227
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้แสดงศักยภาพด้านไอซีที จึงจัดให้มีการประกวดผลงานของครูและนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 3 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • โครงการประกวด Blog Award 2014
  • โครงการประกวดครูไทยยุคไอที สร้างคลิปดีให้เด็กดู
  • โครงการประกวดหนังสั้นเพื่อการเรียนการสอน

ติดตามรายละเอียดของแต่ละโครงการได้ทางเว็บไซต์ ThinkTTT.com

รายงานตัว ม.4/1


boy2
รายงานตัว ม.4/1 จำนวน 30 คน

คำสั่ง   ให้นักเรียนตรวจเช็ค e-mail ของนักเรียน  ถ้าใช้ได้อยู่ไม่ต้องสมัครใหม่
แต่ถ้าใช้งานไม่ได้แล้วให้สมัครใหม่  และให้พิมพ์ชื่อ e-mail
ของนักเรียนแต่ละคนส่งครูด้วย  (ด้านล่าง)

ตัวอย่างการพิมพ์
นาย/นางสาว……………..นามสกุล……………..
ชั้น …………………..…….  เลขที่ ………………..
mail  :………………………………………………

รายงานตัว ม.4/2


hiรายงานตัว ม.4/2 จำนวน 20 คน

คำสั่ง   ให้นักเรียนตรวจเช็ค e-mail ของนักเรียน  ถ้าใช้ได้อยู่ไม่ต้องสมัครใหม่
แต่ถ้าใช้งานไม่ได้แล้วให้สมัครใหม่  และให้พิมพ์ชื่อ e-mail
ของนักเรียนแต่ละคนส่งครูด้วย  (ด้านล่าง)

ตัวอย่างการพิมพ์
นาย/นางสาว……………..นามสกุล……………..
ชั้น …………………..…….  เลขที่ ………………..
mail  :………………………………………………

รายงานตัว ม.4/3


images
รายงานตัว ม.4/3 จำนวน 24 คน

คำสั่ง   ให้นักเรียนตรวจเช็ค e-mail ของนักเรียน  ถ้าใช้ได้อยู่ไม่ต้องสมัครใหม่
แต่ถ้าใช้งานไม่ได้แล้วให้สมัครใหม่  และให้พิมพ์ชื่อ e-mail
ของนักเรียนแต่ละคนส่งครูด้วย  (ด้านล่าง)

ตัวอย่างการพิมพ์
นาย/นางสาว……………..นามสกุล……………..
ชั้น …………………..…….  เลขที่ ………………..
mail  :………………………………………………..

ตารางสอนนักเรียน 1/2556


ตารางสอนนักเรียน 1/2556
นักเรียนสามารถตรวจสอบตารางสอนได้ที่
http://www.facebook.com/WP2556

ตารางสอนครูสุรพงษ์ 1/2556


ใครที่เรียนวิชากับครูสุรพงษ์…สามารถตรวจดูตารางสอนได้ครับ
575616_152662398249837_444390536_n

ข้อสอบ PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 2552



ขอบคุณครูแป๋วที่ให้โหลดมาอ่าน เป็นกำลังใจให้คุณครูให้นักเรียนเข้าไปกด like ที่
http://biologynsp.wordpress.com